ตั้งอยู่ในพื้นที่ 2 ตำบลคือ ตำบลนาบัว ตำบลสวาย มีเนื้อที่ 1,975 ไร่ ตั้งอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ป่าเขาสวายท้องที่ตำบลนาบัว อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ "พนมสวาย" เป็นคำภาษาพื้นที่เมืองสุรินทร์ "พนม" แปลว่าภูเขา "สวาย" แปลว่า "มะม่วง" ในหมู่พนมสวายประกอบด้วภูเขา 3 ลูกติดต่อกันซึ่งมีมีชื่อพื้นเมืองเรียกแตกต่างกันไป ได้แก่ "พนมกรอล" แปลว่า "เขาคอก" มีความสูงประมาณ 150 เมตร "พนมเปร๊า แปลว่า "เขาชาย" มีความสูงประมาณ 220 เมตร "พนมสรัย" แปลว่า "เขาหญิง" มีความสูงประมาณ 210 เมตร รวมกันทั้ง 3 ลูก มีชื่อว่า เขาพนมสวาย ความจริงคือ พนมสวายคือ ภูเขาไฟที่ดับสนิทแล้ว จึงมีลานหินกระจายทั่วไป เนื่องจากวนอุทยานพนมสวายได้สำรวจทั่วบริเวณวนอุทยานพบว่า มีต้นกล้วยไม้ป่าอยู่เป็นจำนวนมาก ทางวนอุทยานได้จัดต้นกล้วยไม้ป่า มาติดไว้ตามต้นไม้ต่างๆ ริมถนน ริมลานจอดรถบ้าง วนอุทยานพนมสวาย ถือว่าเป็นวนอุทยานเฉลิมพระเกียรติแห่งหนึ่งในประเทศไทย และเป็นสถานที่แสวงบุญของชาวไทยที่เลื่อมใสในพระพุทธศาสนา เขตอุทยานพนมสวาย เขาพนมสวาย เป็นภูเขาที่โผล่ขึ้นมาโดดๆบนที่ราบทำนาของจังหวัดสุรินทร์ ห่างจากเทือกเขาพนมดงรักประมาณ 50 กิโลเมตร ห่างจากเขาพนมรุ้งประมาณ ๕๐ กิโลเมตร (สามารถมองเห็นพนมรุ้ง และเขากระโดงได้ที่ด้านหลังพระพุทธสุรินทร์มงคล จนเห็นเทือกเขาพนมดงรัก และ เขาพระวิหาร) และอยู่ห่างจากศาลากลางจังหวัดสุรินทร์ไปทางตะวันตกเฉียงใต้ประมาณ ๒๒ กิโลเมตร
วันจันทร์ที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2554
ตลาดช่องจอม
ตลาดช่องจอม เป็นตลาดที่อยู่ติดชายแดน ไทย เขมรค่ะ จากตลาดช่องจอมไปเขมร ห่างกันแค่ 1,200 เมตรค่ะ ข้ามไปก็เป็นเขมรแล้ว ตลาดช่องจอมอยู่ในเขตจังหวัดสุรินทร์ค่ะ ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ 40-50 ก.ม. (สายน้ำจำไม่ได้ค่ะ เข้าใจนะคะคนป่วยเที่ยวค่ะ) บรรยากาศสองข้างทางไปยังตลาดช่องจอม สดชื่นค่ะ ยังเป็นทุ่งนา กับป่าไม้อยู่เลย วันที่ไปโชคดีตรงที่เดินตลาดไม่มีฝน และผู้คนก็น้อยด้วย เลยเดินสบาย ๆ แต่ในตลาดพ่อค้าแม่ค้านี่พูดภาษาเขมรกัน
ประวัติโรงเรียนแนงมุดวิทยา
โรงเรียนแนงมุดวิทยา เป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาประจำตำบลแนงมุด อำเภอกาบเชิง จังหวัดสุรินทร์ เดิมสังกัดกรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ เปิดทำการสอนเมื่อปีการศึกษา 2532 อาศัยอาคารและสถานที่โรงเรียนของโรงเรียนบ้านแนงมุด สังกัด สปอ.กาบเชิง สปจ.สุรินทร์ โดยในระยะเริ่มแรกมีอาจารย์ ประชุม เหลี่ยมดี และคณะครูจากโรงเรียนกาบเชิงวิทยา มาทำหน้าที่ดำเนินการจักการเรียนการสอน โดยการบริหารอยู่ภายใต้ความดูแลของ นายถวัลย์ มีมาก อาจารย์ใหญ่์โรงเรียนกาบเชิงวิทยาต่อมาได้ส่ง นายหัสชัย สุพรรณภพ ผู้ช่วยอาจารย์ใหญ่ โรงเรียนกาบเชิงวิทยา มาดูแลการจัดการเรีนยการสอน ปีการศึกษา 2533 ด้วยความร่วมของคณะกรรมการสภาตำบลแนงมุด ประกอบด้วย
นาย วงศ์ จันทร์ปล้อง ประธานสภาตำบลแนงมุดไ้ด้ย้ายมาบุกเบิกพื้นที่ทำเลเลี้ยงสัตว
ห้วยตาพราน หมู่ที่ 9 ตำบลแนงมุด อำเภอกาบเชิง จังหวัดสุรินทร์ ในพื้นที่ 75 ไร่
เป็นที่ตั้งโรงเรียน
นาย วงศ์ จันทร์ปล้อง ประธานสภาตำบลแนงมุดไ้ด้ย้ายมาบุกเบิกพื้นที่ทำเลเลี้ยงสัตว
ห้วยตาพราน หมู่ที่ 9 ตำบลแนงมุด อำเภอกาบเชิง จังหวัดสุรินทร์ ในพื้นที่ 75 ไร่
เป็นที่ตั้งโรงเรียน
ประวัติปราสาทตาเมือน
ตั้งอยู่ที่บ้านหนองคันนา ตำบลตาเมียง เป็นโบราณสถานแบบขอม 3 หลัง ตั้งอยู่ในบริเวณใกล้เคียงกัน ติดแนวชายแดนประเทศไทยและกัมพูชา การเดินทางจากจังหวัดสุรินทร์ ใช้ทางหลวงหมายเลข 214 ผ่านอำเภอปราสาท แยกไปตามทางหลวงหมายเลข 2121 ที่จะไปอำเภอบ้านกรวดประมาณ 25 กิโลเมตร มีทางแยกที่บ้านตาเมียง ไปอีก 13 กิโลเมตรปราสาทตาเมือน เป็นสิ่งก่อสร้างที่เชื่อว่าคือที่พักคนเดินทางแห่งหนึ่งใน 17 แห่งที่พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 มหาราชองค์สุดท้ายแห่งเมืองพระนครโปรดให้สร้างขขึ้นจากเมืองยโสธรปุระ เมืองหลวงของอาณาจักรขอมโบราณไปยังเมืองพิมายปราสาทตาเมือนสร้างด้วยศิลาแลงเช่นเดียวกับโบราณสถานสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ที่พบในดินแดนประเทศไทย มีลักษณะเป็นปรางค์องค์เดียวมีห้อยยาวเชื่อมต่อมาทางด้านหน้า ผนังด้านหนึ่งปิดทึบ แต่สลักเป็นหน้าต่างหลอก ส่วนอีกด้านมีหน้าต่างเรียงกันโดยตลอด เคยมีผู้พบทับหลังเป็นรูปพระพุทธรูปปางสมาธิในซุ้มเรือนแก้ว 2-3 ชิ้น
วันเสาร์ที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2554
สาเหตุนำท่วม
สาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดปัญหาน้ำท่วมกรุงเทพมหานคร พอจะสรุปได้ดังต่อไปนี้
- กรุงเทพมหานครตั้งอยู่ในเขตมรสุม นอกจากฝนที่ได้รับอิทธิพลมาจากมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ซึ่งมีปริมาณฝนเฉลี่ยทั้งปี ประมาณ 1,400 มม.
แล้วยังมีฝนที่มาจากพายุโซนร้อน และดีเปรสชั่น ฝนที่ตกหนักในระยะเวลาอันสั้นส่งผลให้เกิด น้ำท่วมขังชั่วคราว - ปริมาณน้ำท่าจากทางเหนือที่ไหลผ่านกรุงเทพมหานคร ในปีที่น้ำน้อยจะประมาณ 1,000 - 2,000 ลบ.ม./วินาที ส่วนในปีที่น้ำมากจะประมาณ
4,000 - 5,000 ลบ.ม./วินาที ในขณะที่แม่น้ำเจ้าพระยามีความสามารถในการลำเลียงน้ำได้โดยไมล้นตลิ่งประมาณ 2,000 - 3,000
ลบ.ม./วินาที ปริมาณน้ำที่มากกว่าความสามารถในการลำเลียงของแม่น้ำเป็นเหตุให้ เกิดน้ำท่วมบริเวณริมแม่น้ำ - ระดับน้ำในแม่น้ำเจ้ำพระยาขึ้นอยู่กับอิทธิพลการขึ้นลงของระดับน้ำทะเล ซึ่งสามารถหนุนได้สูงถึง 2.1 ม.รทก. (ระดับน้ำทะเลปานกลาง)
ถ้าน้ำทะเลหนุนในช่วงระยะเวลาเดียวกับน้ำเหนือไหลผ่าน จะทำให้น้ำล้นท่วมตลิ่งได้ในฤดูน้ำหลาก - ลักษณะทางกายภาพของเมืองที่เปลี่ยนแปลงไปจากอดีต ชุมชนเมืองขยายตัวอย่างรวดเร็ว มีปัญหาการใช้ที่ดินไม่ถูกต้อง เช่น ถมที่เพื่อการก่อสร้าง
การรุกล้ำคลองสาธารณะ ส่งผลให้เส้นทางลำเลียงน้ำลดลง ระบบระบายน้ำเดิมไม่สามารถรอง รับการขยายตัวของชุมชนได้ทัน - ปัญหาแผ่นดินทรุดเนื่องจากการสูบน้ำบาดาล ทำให้พื้นที่ในกรุงเทพฯ เดิมซึ่งเป็นพื้นที่ราบต่ำอยู่แล้วทรุดตัวลงมากกว่าเดิม เมื่อเกิดน้ำท่วมขัง
จึงยากที่จะระบายออกจากพื้นที่ได้
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)